การประเมินเทียบระดับการศึกษา


สวัสดีคะ..ผู้ติดตาม kanyapakpomanee.blogspot.com ทุกท่านคะ..วันนี้ผู้เขียนขอตอบเมล์ของน้องจุ๋มที่เขียนมาถามเกี่ยวกับการประเมินเทียบระดับของการศึกษานอกโรงเรียนว่าเป็นอย่างไร ?

การเทียบระดับการศึกษา
เป็นการนำผลการเรียน ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะ หรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและ การศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพหรือจากประสบการณ์การทำงาน มาประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด โดยมีขอบข่ายการประเมิน ๔ ด้าน คือ
๑. ความรู้พื้นฐาน เป็นความรู้ด้านวิชาสามัญ คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
๒.ความรู้ด้านพัฒนาอาชีพเป็นความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านการงานอาชีพ
๓.ความรู้ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต มีทักษะในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข มีทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจ ตลอดจนยึดหลักธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
๔.ความรู้ด้านพัฒนาสังคมและชุมชน โดยการนำศักยภาพของตนเองมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ทั้งด้านอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมและชุมชนมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมินเทียบระดับ
๑.มีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.เป็นผู้พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
๓.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำในเขตบริการเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา
๔.ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบ หรือการศึกษานอกระบบ
๕.มีพื้นฐานความรู้ต่ำกว่าระดับที่ขอเทียบ ๑ ระดับ เช่น จะขอเทียบระดับม.ปลาย ก็ต้องจบการศึกษาในระดับ ม.ต้นมาก่อน ไม่ใช่ จบประถมแล้วขอเทียบ ม.ปลาย เลย อย่างนี้ไม่ได้ค่ะ
ค่าใช้จ่าย
๑.ระดับประถมศึกษา ๕๐๐ บาท
๒.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑,๐๐๐ บาท
๓.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑,๕๐๐ บาท
สถานที่รับประเมินเทียบระดับการศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นสถานศึกษาเทียบระดับการศึกษา ขณะนี้มี ๒๑ แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูลปีการศึกษา ๒๕๔๙) ในส่วนจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดประเมินคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ใกล้ที่สุด)
ขั้นตอนการประเมินเทียบระดับการศึกษา
๑.สมัคร
ยื่นคำร้อง ตรวจสอบหลักฐาน ลงทะเบียนประเมิน
๒.ชี้แจง แนะแนว วิธีการและขั้นตอนการประเมิน
ขั้นตอนการประเมิน วิธีการประเมิน ระยะเวลาการประเมิน การจัดทำแฟ้มสะสมงาน จัดทำโครงการ
๓.ดำเนินการประเมิน
แบบทดสอบ ประเมินการปฎิบัติการ ประเมินแฟ้มสะสมงาน / โครงการ หลักฐาน/ผลงาน สัมภาษณ์
วิธีการเหมือนกันทั้ง ๓ ระดับ
๔.ตัดสินผลการประเมิน
ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน
กรณีผ่าน ก็เสนอคณะกรรมการกลาง เข้าค่ายพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินเทียบระดับ อนุมัติการประเมินและออกหลักฐานการศึกษา
กรณีไม่ผ่าน ก็ อบรมเรียนรู้เพิ่มเติม สมัครลงทะเบียนใหม่และก็เป็นไปตามขั้นตอนที่เล่ามาแล้วข้างต้น
ที่เล่ามาเป็นเพียงเนื้อหาคร่าวๆ ให้พอมองเห็นกระบวนการ ขั้นตอนของการเทียบระดับคะ.. ดูเหมือนยุ่งยากแต่ไม่ยากอย่างที่คิดหรอกนะคะ... ถ้ามีความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ก็จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง คะ...ตอนนี้มีวิธีการเรียนการสอนที่กลับมาอีกครั้ง นั่นก็คือโรงเรียนผู้ใหญ่ค่ะ....จังหวัดพิษณุโลกก็เปิดสอนที่โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา อ.เมืองพิษณุโลกคะ....



2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ25/5/52 19:58

    ขอบคุณค่ะ แต่จุ๋มไม่เข้าใจตรงที่ว่าในส่วนจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดประเมินคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ใกล้ที่สุด) คือที่พิษณุโลกไม่มีให้ประเมินเทียบหรอค่ะถ้าจะประเมินเทียบระดับต้องไปที่เพชรบูรณ์หรือเปล่าค่ะไม่เข้าใจตรงนี้นะค่ะ และที่บอกว่าต้องเป็นผู้มีงานทำนี่งานอะไรก็ได้หรือว่าต้องเป็นงานอะไรมีข้อจำกัดไหมค่ะ แล้วถ้ารับงานมาทำที่บ้านนี้ได้ไหมค่ะแบบปักผ้าเย็บปักถักร้อยนะค่ะรับมาทำที่บ้านแล้วไปส่งเขานะค่ะ หรือว่าต้องเป็นงานประจำหรอค่ะ แล้วโรงเรียนผู้ใหญ่นี่คือยังไงหรอค่ะเหมือนกศน.ไหมค่ะหรือว่าจบช้ากว่าแล้วต้องเข้าเรียนบ่อยไหมค่ะ ขอบคุณอาจาร์ยมากเลยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. อืม...อิ อิ ถามยาวเลยนะคะ สรุปว่ามีข้อสงสัยอยู่ ๓ ข้อใหญ่ๆ อย่างนี้หรือไม่คะ ๑.สถานที่รับประเมิน
    ๒.อาชีพประจำหรืออาชีพอิสระ
    ๓.โรงเรียนผู้ใหญ่
    คำถามที่ ๑ ตอบว่า หน่วยงานประมวลผลการประเมินอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์แต่รับสมัครกระบวนการประเมินตามรายละเอียดที่เล่าใน blog เช่นเอกสาร ผลงาน ต่างๆ เป็นของจังหวัดพิษณุโลกคะ ไม่ต้องเดินทางไปเพชรบูรณ์
    คำถามที่ ๒ อาชีพที่เกิดรายได้ประจำ มีความมั่นคง เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ก็เข้าเกณฑ์คะ
    คำถามที่ ๓ โรงเรียนผู้ใหญ่ใช้หลักสูตรเดียวกับการพบกลุ่ม แตกต่างที่วิธีการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบชั้นเรียน เหมือนสมัยก่อนที่โรงเรียนผู้ใหญ่เฉลิมขวัญสตรีจัด สอนตอนเย็น ทุกวัน หยุดวันหยุดราชการ หรือจะเรียนในวันหยุดราชการก็แล้วแต่สถานศึกษานั้นๆ เวลาในการจัดการเรียนการสอน ก็อย่างน้อย ๒ ปี คะ

    ตอบลบ