การอบรมครูการศึกษานอกโรงเรียนในหน่วยทหารรุ่นที่๑/๕๔


สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินการอบรมครูการศึกษานอกโรงเรียนในหน่วยทหาร ประจำปี ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ กองทัพภาคที่ ๓ จังหวัดพิษณุโลก และได้ขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก ท้งนี้ได้รับความร่วมมือในกลุ่มศูนย์ ห้าขุนศึกสนับสนุนวิทยากรในแต่ละรายวิชาดังนี้
๑.ปรัชญาการคิดเป็นและจิตวิทยาผู้ใหญ่ ผอ.สังวาลย์ ชาญพิชิต ผอ.สนง.กศน.จังหวัดสุโขทัย

๒.หลักสูตร กศน.๕๑ ผอ.กัญญาภัค โพธิ์มณี ผอ.กศน.อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

๓.การเทียบโอนผลการเรียน ผอ.ชนะ เปรมปรี ผอ.กศน.อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

๔.การจัดกระบวนการเรียนรู้และการจัดทำแผนการเรียนรู้ ผอ.จิรพงศ์ ผลนาค ผอ.กศน.อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัยและ ผอ.บุญชัย พุกใหญ่ ผอ.กศน.อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

๕.การวัดและประเมินผลการเรียน ผอ.กศน.อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

๖.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผอ.ณรงค์ โตนชัยภูมิ ผอ.กศน.อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย

๗.กิจกรรมทดสอบก่อนและหลังการอบรม ครูสุกัญญา จันทะสูน ครูชำนาญการพิเศษ สนง.จังหวัดพิษณุโลกทั้งนี้มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น ๕๕ นาย ตามสังกัดดังนี้

๑.บก.ทท จำนวน ๒ นาย
๒.ทบ. จำนวน ๕๐ นาย

๓.ทอ. จำนวน ๓ นาย




โรคเวียนศรีษะ

เวียนศีรษะ Dizziness
หลายท่านคงเคยเป็นโรคเวียนศีรษะ ผู้ป่วยมักจะมีชื่อเรียกต่างๆกันดังนี้ มึนศีรษะ งงศีรษะ บ้านหมุน หนักศีรษะ เป็นลม จะเห็นว่าเป็นปัญหาในการสื่อสารกับแพทย์เป็นอันมาก การที่จะวินิจฉัยโรคได้นั้นแพทย์จะต้องได้ประวัติที่ดี บทความนี้จะยกสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบบ่อยเพื่อที่ท่านสามารถจะสื่อสารกับแพทย์ได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าภาวะนี้จะพบบ่อยแต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ร้ายแรง สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ จากหูชั้นใน และจากระบบความดันโลหิต
การวินิจฉัยของโรคเวียนศีรษะ
เมื่อท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการเวียนศีรษะแพทย์จะถามหลายคำถามและท่านต้องตอบให้ตรงคำถามเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ลักษณะของอาการเวียนศีรษะ
อาการเวียนศีรษะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนท่าเช่นการหันหน้า นั่งไปนอน หรือจากนอนไปท่านั่งเป็นต้น
ความรุนแรงของอาการเวียนศีรษะ
สิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือไม่ ระยะเวลาที่เกิดอาการ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ปัจจัยที่ทำให้หาย
เป็นแต่ละครั้งนานแค่ไหน หลังจากเวียนศีรษะมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เป็นบ่อยแค่ไหน อาการที่เกิดร่วมกับอาการเวียนศีรษะ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยหรือไม่ มีอาการเครียดด้วยหรือไม่ มีอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติร่วมด้วยหรือไม่ มีเสียงดังในหูหรือไม่ มีอาการอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่

ท่านเป็นเวียนศีรษะประเภทไหน การจะวินิจฉัยและรักษาจะต้องทราบก่อนว่าอาการเวียนศีรษะที่ท่านเป็นอยู่เป็นชนิดไหน ซึ่งแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 4 ชนิด
อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน vertigo เป็นอาการที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุน การเปลี่ยนท่า เช่นหันหน้าหรือการเปลี่ยนจากนอนเป็นนั่งจะทำให้เกิดอาการหมุน ผู้ป่วยมักจะนอนหลับตา หากลืมตาบ้านจะหมุนทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุเกิดจากโรคของหูชั้นใน โรคที่เป็นสาเหตุได้แก่
Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) เมื่อท่านหันศีรษะหรือพลิกตัวจะทำให้ท่านเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากโรคหูชั้นใน
Vestibular neuronitis (labyrinthitis) เกิดจาการอักเสบของหูชั้นในจากเชื้อไวรัส
Meniere's disease เกิดจากน้ำเลี้ยงในหูชั้นในเพิ่มขึ้น
Acoustic neuroma เกิดจากเนื้องอกกดเส้นประสาท
Medications ยาหลายชนิดทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะเช่น Aspirin, streptomycin, gentamicin, caffeine, alcohol และยาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
อาการหน้ามืดเป็นลม Fainting มักเกิดขณะนั่งหรือนอนแล้วลุกขึ้นยืนผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นลม หน้ามืด มีอาการใจสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ต้องนอนหรือนั่งจึงจะดีขึ้นที่สำคัญคือจะไม่หมดสติ บางรายมีคลื่นไส้ สาเหตุ
ความดันโลหิตต่ำ เมื่อท่านลุกขึ้นยืนเลือดจะไหลไปที่เท้าเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ร่างกายจะปรับตัวโดยการบีบตัวของหลอดเลือดดำเพื่อให้เลือดกลับไปที่หัวใจเพิ่มนอกจากนั้นหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การปรับตัวทั้งสองเป็นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้อาจจะเกิดจากยาลดความดันโลหิต การเจ็บป่วยทำให้ได้รับน้ำไม่พอ ผู้ป่วยขาดน้ำอย่างรุนแรงเช่นท้องร่วงหรืออาเจียน หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไป โรคของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่นอนนานๆ ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราวทำให้เกิดอาการหน้ามืด เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้ป่วยที่มีอาการหนักศีรษะมึนๆ ผู้ป่วยรู้สึกมึนในศีรษะสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
โรคหูชั้นใน โรคเครียด
เวียนศีรษะแบบเดินเซทรงตัวไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการทรงตัวไม่ได้เวลาเดิน โรคที่เป็นสาเหตุได้แก่
โรคหูชั้นใน โรคของระบบประสาท
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมและกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้ทรงตัวลำบาก จากยา เช่นยานอนหลับ ยากันชัก

การตรวจวินิจฉัย
แสดงท่าตรวจให้นั่งแล้วนอนโดยหันศีรษะไปด้านซ้ายและด้านขวา
หลังจากที่แพทย์ทราบชนิดของเวียนศีรษะแพทย์จะตรวจหรือสั่งการตรวจเพิ่มเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ชนิดของเวียนศรีษะ
เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน
ตรวจระบบหู ตรวจตาว่ามีการกระตุก ตรวจการได้ยิน ตรวจจมูก คอ
เวียนศีรษะแบบหน้ามืดเป็นลม
ตรวจชีพขจร วัดความดัน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการทำงานของหัวใจ เช่น ultrasound หัวใจ
วัดความดันท่านอนและยืน
เวียนศีรษะแบบหนักๆศีรษะ
ตรวจทางจิตว่ามีความเครียดหรือไม่ อาจจะให้หายใจแรงๆดูว่ามีอาการหรือไม่
เวียนศีรษะแบบเดินเซ
ตรวจระบบการทรงตัวโดยการยืนหลับตา ตรวจระบบประสาท
อาการเวียนศีรษะที่ต้องปรึกษาแพทย์
เวียนศีรษะร่วมกับอาการหมดสติ ตามัว หูหนวก พูดลำบาก อ่อนแรงแขนขา ชาแขนขา เวียนศีรษะบ้านหมุน
เวียนศีรษะจนทำงานประจำไม่ได้ หากสงสัยว่าเกิดจากยาควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการมึนๆมากกว่า 3 สัปดาห์ มีอาการอื่นร่วมเช่น แน่นหน้าอก หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการเตือนของเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ
การดูแลตัวเองเบื้องต้น
นอนพักจนอาการเริ่มดีขึ้น
อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน
หันศีรษะช้าๆ
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเช่นเกลือ ยาบางชนิด
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นเช่น ความเครียด ภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างเช่นการขับยานพาหนะ การปีนบันได
หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะเพราะอาจจะทำให้เกิดเมารถ เมาเรือ
หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุน
ยาแก้เวียนศีรษะ เช่น meclizine, dimenhydrinate, promethazine, scopolamine, atropine or diazepam

สูตรชีวิตรับปีใหม่ไทย

“สูตรแห่งชีวิตประจำวัน” เรียกสูตรนี้ว่าเป็น Lifebook หรือเป็น “ตำราแห่งชีวิต” ซึ่งเหมาะเจาะกับเนื้อหา และคำแนะนำที่น่าสนใจยิ่ง ทั้งง่ายและตรงไปตรงมา, ใครจะทำไม่ทำก็ได้, เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล,ไม่บังคับยัดเยียดกัน, ไม่ต่อว่าต่อขานกัน, แต่ถ้าหากมีความมุ่งมั่นจะทำอะไรให้กับชีวิตของตนเอง, ก็ถือว่าเป็นเรื่องน่าส่ง เสริมสนับสนุนสมควรจะให้กำลังใจแก่กันและกันอย่างยิ่ง สูตร ที่ว่านี้มีง่าย ๆ อย่างนี้
๑. ดื่มน้ำให้มาก
๒. กินอาหารเช้าเหมือนราชา, รับประทานอาหารเที่ยงเหมือนเจ้าชายและเมื่อถึงอาหารเย็น, ให้วาดภาพว่าตัวเองเป็นแค่ขอ ทาน (แปลว่ากินมือหนักที่สุดตอนเช้า, กลาง ๆ ตอนเที่ยงและตกเย็นแล้ว, ทำตัวเป็นยาจก, ไม่มีอะไรจะกิน...สุขภาพจะเป็นอย่างเทวดาทีเดียวเชียวแหละ)
๓. กินอาหารที่โตบนต้นและบนดิน, พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ผลิตจากโรงงาน
๔. ใช้ชีวิตบนหลักการ 3 E...นั่นคือ energy หรือพลังงาน, enthusiasm หรือกระตือตือร้น และ empathy คือเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ๆ
๕. หาเวลาทำสมาธิหรือสวดมนต์เสมอ
๖. เล่นเกมสนุก ๆ เสียบ้าง, อย่าเครียดกันนักเลย
๗. อ่านหนังสือให้มากขึ้น...ตั้งเป้าว่าปีนี้จะอ่านมากกว่าปีที่ผ่านมา
๘. นั่งเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองสักวันละ 10 นาทีให้ได้
๙. นอนวันละ 7 ชั่วโมง
๑๐. เดินสักวันละ 10 ถึง 30 นาที แล้วแต่จะสะดวก วันไหนไม่ได้เดิน, ก็อย่าหงุดหงิดกับมัน
๑๑. ระหว่างเดิน, อย่าลืมยิ้ม นั่นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพกายและใจที่ผสมปนเปกันได้เสมอ, หากทำเป็นกิจวัตรชีวิตก็จะแจ่มใส แต่อย่าทำให้ตัวเองเครียดด้วยการรู้สึกผิดถ้า หากวันไหนทำไม่ได้ตามที่วางกำหนดเวลาของตนเอาไว้ วันนี้ทำไม่ได้, พรุ่งนี้ทำก็ได้ แต่การไม่เอาจริงเอาจังกับตัวเองเกินไปไม่ได้หมายถึงการผัดวันประกันพรุ่ง, ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

สูตรเกี่ยวกับบุคลิกของตัว เองที่ควรไปจะคู่กับสูตรสุขภาพมีอย่างนี้
๑. อย่าเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับคนอื่น คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่คุณอิจฉานั้นเขามีความทุกข์ยิ่งกว่าคุณอย่างไรบ้าง
๒. อย่าคิดทางลบเกี่ยวกับเรื่องที่คุณควบคุมหรือกำหนดไม่ได้ แทนที่จะมองโลกในแง่ร้ายทุ่มเทกำลังและพลังงาน ให้กับความคิดทางบวก ณ ปัจจุบันเสีย
๓. อย่าทำอะไรเกินกว่าที่ตัวเองทำได้...รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ที่ไหน
๔. อย่าเอาจริงเอาจังกับตัวเองนัก เพราะคนอื่นเขาไม่ได้ซีเรียสกับคุณเท่าไหร่หรอก
๕. อย่าเสียเวลาและพลังงานอันมีค่าของคุณกับเรื่องหยุมหยิมหรือเรื่องซุบซิบ ....นอกเสียจากว่า มันจะทำให้คุณผ่อนคลายได้อย่างจริง
๖. จงฝันตอนตื่นมากกว่าตอนหลับ
๗. ความรู้สึกอิจฉาริษยาเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า ๆ ปลี้ ๆ...คิดให้ดีก็จะรู้ว่าคุณมีทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องมีแล้ว
๘. ลืมเรื่องขัดแย้งในอดีตเสีย และอย่าได้เตือนสามีหรือภรรยาคุณเกี่ยวกับความผิดพลาดในอดีตของอีกฝ่ายหนึ่ง เลย เพราะมันจะทำลายความสุขปัจจุบันของคุณ
๙. ชีวิตนี้สั้นเกินกว่าที่เราจะไปโกรธเกลียดใคร...จงอย่าเกลียดคนอื่น
๑๐.ประกาศสงบศึกกับอดีตให้สิ้น, จะได้ไม่ทำลายปัจจุบันของคุณ
๑๑.ไม่มีใครกำหนดความสุขของคุณได้นอกจากคุณเอง
๑๒.จงเข้าใจเสียว่าชีวิตก็คือโรงเรียน คุณมาเพื่อเรียนรู้ และปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรซึ่งมาแล้วก็หายไป. ..เหมือนโจทย์วิชาพีชคณิต...แต่สิ่งที่คุณเรียนรู้นั้นอยู่กับคุณตลอดชีวิต
๑๓. จงยิ้มและหัวเราะมากขึ้น
๑๔. คุณไม่จำเป็นต้องชนะทุกครั้งที่ถกแถลงกับคนอื่นหรอก...บางครั้งก็ยอมรับว่า เราเห็นแตกต่างกันได้... เห็นพ้องที่จะเห็นต่างก็ไม่เห็นเสียหายแต่อย่างไร
แล้วเราควรจะมีทัศนคติ อย่างไรต่อชุมชนและคนรอบข้างเราล่ะ?
๑. อย่าลืมโทรฯหาครอบครัวบ่อย ๆ
๒. จงหาอะไรดี ๆ ให้คนอื่นทุกวัน
๓. จงให้อภัยทุกคนสำหรับทุกอย่าง
๔. จงหาเวลาอยู่กับคนอายุเกิน 70 และต่ำกว่า 6 ขวบ
๕. พยายามทำให้อย่างน้อย 3 คนยิ้มได้ทุกวัน
๖. คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณไม่ใช่เรื่องของคุณสัก หน่อย
๗. งานของคุณไม่ดูแลคุณตอนคุณป่วยหรอก แต่ครอบครัวและเพื่อนคุณต่างหากเล่าที่จะดูแลคุณ ในยามคุณมีปัญหาสุขภาพ ดังนั้น, อย่าได้ห่างเหินกับคนใกล้ชิดเป็นอันขาด

และถ้าหากสามารถ ดำรงชีวิตให้มีความหมายได้, ก็ควรจะทำดังต่อไปนี้
๑. ทำสิ่งที่ควรทำ
๒. อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่สวย, ไม่น่ารื่นรมย์, จงทิ้ง ไปเสีย...เก็บไว้ทำไม?
๓. เวลาและพระเจ้าย่อมรักษาแผลทุกอย่างได้
๔. ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือเลวปานใด, เดี๋ยวมันก็เปลี่ยน
๕. ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรในตอนเช้าของทุกวัน, จงลุกจากเตียง, แต่งตัวและปรากฎตัว ต่อหน้าคนที่เราร่วมงาน ด้วย...get up, dress up and show up.
๖. สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง
๗. ถ้าคุณยังลุกขึ้นตอนเช้าได้, อย่าลืมขอบคุณพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือเสียด้วย
๘. เชื่อเถอะว่าส่วนลึก ๆ ในใจของคุณนั้นมีความสุข เสมอ...ดังนั้น, ส่วนนอกของคุณทุกข์โศกไปทำไมเล่า?

เหตุการณ์เมืองไทยในอดีต เดือนกุมภาพันธ์

1 กุมภาพันธ์ 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงจำนำ ร.ศ.114 ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย มีผลบังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร วันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ.120

3 กุมภาพันธ์ 2462 วันที่ระลึกและวันสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นวันที่ระลึกทหารผ่านศึกสงครามโลก ครั้งที่ 1 ที่ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี เมื่อสงครามสงบลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาแก่ผู้พลีชีวิต
นับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา

3 กุมภาพันธ์ 2485 ได้มีการลงนามในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างไทย กับญี่ปุ่น โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย กับแม่ทัพกองทัพที่ 15 ของญี่ปุ่น ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในไทย ร่วมกับผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น

4 กุมภาพันธ์ 2462 รัชกาลที่ 5 เสด็จ ฯ ทรงเปิดเดินเครื่องจักรโรงกษาปณ์สิทธิการ

5 กุมภาพันธ์ 2404 เริ่มสร้างถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชย ไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนตก รวมความยาวทั้งสิ้น 8.575 กิโลเมตร ส่วนความกว้างไม่เท่ากันตลอดทั้งสาย บางตอนกว้างถึง 12.75 เมตร บางตอนกว้างเพียง 7 เมตร เป็นถนนเทคอนกรีต และลาดยางตลอดสาย

5 กุมภาพันธ์ 2428 ได้บรรจุการทำบัญชีเข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นวิชาหนึ่งในแปดอย่างของประโยคสอง ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของ รร. หลวงในสมัยนั้น

5 กุมภาพันธ์ 2496 วันสถาปนากองเรือตรวจอ่าว ซึ่งเป็นกองกำลังในสังกัดกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ

6 กุมภาพันธ์ 2485 ประเทศอังกฤษได้ประกาศสงครามกับไทย โดยให้ถือว่ามีสถานะสงครามกับไทย ตั้งแต่ 23 ม.ค. 2485และได้โทรเลขถึงข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำประเทศคานาดาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ แสดงความหวังว่าประเทศในเครือจักรภพจะดำเนินการอย่างเดียวกัน

7 กุมภาพันธ์ 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนนี้เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีช่องระบายน้ำ 20 ช่อง กว้างช่องละ 25.50 เมตร ใช้ส่งน้ำตามโครงการชลประะทานเจ้าพระยา ในเนื้อที่ประมาณ 5,550,000 ไร่

7 กุมภาพันธ์ 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศรัสเซีย

9 กุมภาพันธ์ 2515 สมเด็จพระนางเจ้าอะลิซาเบธ แห่งอังกฤษ เสด็จเยือนประเทศไทย นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมายังเอเซียเป็นครั้งแรก

10 กุมภาพันธ์ 2497 ออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวันนี้กำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี

11 กุมภาพันธ์ 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กองเสือน้ำ เป็น กรมราชนาวีเสือป่า สมาชิกของกรมราชนาวีเสือป่าได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มาสมัคร และมีนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวน

11 กุมภาพันธ์ 2485 รัฐบาลแอฟริกาใต้ประกาศสถานะสงครามกับไทย โดยให้มีผลตั้งแต่ 25 ม.ค. 2485

11 กุมภาพันธ์ 2491 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้นเป็นส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อกองทัพบกให้ทำหน้าที่ฝึกนักศึกษาวิชาทหารมาจนถึงทุกวันนี้

12 กุมภาพันธ์ 2446 ไทยเสียดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพร เป็นพื้นที่ปีะมาณ 62,500 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย ซึ่งฝรั่งเศสได้ยึดตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436)

13 กุมภาพันธ์ 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ไปเยี่ยมเรือรบอังกฤษ คือ เรือออเคเซียส เรืออะกาเมนอน เรือวิจิแลนด์ และเรือแดริง ซึ่งเดินทางมาจากฮ่องกง มาทอดสมออยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา

13 กุมภาพันธ์ 2446 ไทยตกลงทำสัญญายก จังหวัดตราด เกาะต่าง ๆ ตลอดแนวไปจนถึง เกาะกง เกาะกูด ให้แก่ฝรั่งเศส

14 กุมภาพันธ์ 2369 เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎยกกองทัพจากเวียงจันทร์เข้ามายึดเมืองนครราชสีมาไว้ได้ และได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นชะเลยจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งกองทัพออกไปปราบและจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ส่งตัวเข้ามากรุงเทพ ฯ เมื่อ 21 ธันวาคม 2370

16 กุมภาพันธ์ 2427 วันจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบาทหลวงกลอมเบต์ ชาวฝรั่งเศส อธิการแห่งโบสถ์อัสสัมชัญ รับเฉพาะนักเรียนชายล้วน

16 กุมภาพันธ์ 2496 ประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตาปี

16 กุมภาพันธ์ 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จังหวัดลพบุรี

17 กุมภาพันธ์ 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระราชาธิบดี เยอรมัน มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง สมเด็จพระเจ้ากรุงปรุสเซีย และเรื่องการทำสัญญาทางพระราชไมตรีและทางค้าขาย

17 กุมภาพันธ์ 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

17 กุมภาพันธ์ 2462 เปิดการไปรษณีย์อากาศขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างกรุงเทพ-จันทบุรี

17 กุมภาพันธ์ 2488 ประกาศใช้เครื่องแบบทหารเรือฉบับแรก

18 กุมภาพันธ์ 2375 อเมริกันส่งทูตการค้าคนแรก คือ นายเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในสมัยประธานาธิบดี ยอร์ช วอชิงตัน ของสหรัฐอเมริกา

20 กุมภาพันธ์ 2500 เปิดถนนมิตรภาพ จากสระบุรีไปนครราชสีมา จากความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

20 กุมภาพันธ์ 2512 มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นเกียรติ และระลึกถึงความกล้าหาญของท่าน ที่ได้ต่อสู้กับโปสุพลา แม่ทัพพม่า จนดาบหักคามือ

21 กุมภาพันธ์ 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง กรมพระราชวังบวรฯ ตีที่สามสบ รบอยู่ 3 วัน ไทยได้รับชัยชนะ

21 กุมภาพันธ์ 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้จำลองปราสาทนครวัด ไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์

21กุมภาพันธ์ 2435 ไทยเริมเดินรถรางเป็นครั้งแรก ต่อมาได้กีดขวางการจราจร จึงได้เลิกเมื่อ พ.ศ. 2511

21 กุมภาพันธ์ 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทรศก) ซึ่งเริ่มใช้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้ใช้ พ.ศ. (พุทธศักราช) แทน

21 กุมภาพันธ์ 2482 กองทัพเรือ จัดตั้งกรมนาวิกโยธิน โดยรวมกองพันนาวิกโยธิ ที่มีอยู่ 2 กองพันเข้าด้วยกัน

23 กุมภาพันธ์ 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระราชวังเดิม เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ จากนั้นเป็นต้นมา พระราชวังเดิมก็เป็นสถานที่ทำการของ ทหารเรือจนถึงปัจจุบัน (พระราชวังเดิมเป็นพระราชวังหลวง ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ และวัดอรุณราชวราราม ขนาบอยู่สองข้าง ตรงกลางมีป้อมวิชัยประสิทธิ์ตั้งอยู่)

23 กุมภาพันธ์ 2465 กองทัพเรือได้ออกข้อบังคับทหารเรือ กำหนดให้ใช้คำว่า ร.น. (ราชนาวี) ต่อท้ายนามของนายทหารสัญญาบัตร

24 กุมภาพันธ์ 2310 วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิม ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการรบ และด้านศิลปะเป็นอันมาก ได้ทรงติดตามพระชนกนาถ ครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปทำสงครามด้วยทุกครั้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยม งานด้านการช่างประเภท แกะสลักด้วยฝีพระหัตถ์ อันเป็นผลงานของพระองค์ ซึ่งยังมีปรากฎอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูโบสถ์
วัดสุทัศน์เทพวราราม

24 กุมภาพันธ์ 2409 กองทัพบกได้มีคำสั่งจัดตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษ ขึ้นที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นับเป็นการจัดหน่วยรบพิเศษที่สมบูรณ์แบบ

24 กุมภาพันธ์ 2513 บก.ทหารสูงสุดได้อนุมัติการจัดตั้ง หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง (นปข. ) เพื่อป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่รับผิดชอบตามลำน้ำโขง ตั้งแต่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไปถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง 850 กม.

24 กุมภาพันธ์ 2522 กองทัพอากาศยุบเลิกกรมการบินพลเรือน แล้วแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

25 กุมภาพันธ์ 2468 พระราชพิธีพระบรมราชรภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

26 กุมภาพันธ์ 2310 วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

27 กุมภาพันธ์ 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อัญเชิญพระแก้วมรกต จากพระราชวังเดิมธนบุรี มาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราช

27 กุมภาพันธ์ 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

28 กุมภาพันธ์ 2454 กระทรวงกลาโหมได้ส่งนายทหารสามนาย ออกเดินทางไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นชุดแรกที่ส่งออกไปศึกษา และได้สำเร็จการศึกษากลับมาถึงประเทศไทย เมื่อ
2 พฤศจิกายน 2456

28 กุมภาพันธ์ 2510 คณะรัฐมนตรีลงอนุมัติ อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม โดยให้กองทัพบกจัดส่งหน่วยกำลังรบทางพื้นดิน ไปปฏิบัติการรบ กองทัพบกจึงจัดตั้งหน่วยรบเฉพาะกิจขึ้นในรูป กรมทหารอาสาสมัคร (กรม อสส.) ส่งไปร่วมรบกับชาติพันธมิตร ในประเทศเวียดนาม กรม อสส. นี้ได้รับสมญานามว่า จงอางศึก

29 กุมภาพันธ์ 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน

วันนี้ในอดีต เดือนมกราคม



เหตุการณ์ในอดีต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ ทำให้ได้รู้ถึงความเป็นมาและวิวัฒนาการของเรื่องนั้นๆ จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน และผลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

1 มกราคม2423 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

1 มกราคม2435 หมอยอร์ช บี. แมคฟาร์แลน (อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม) เริ่มกิจการโรงเรียนแพทย์ศิริราช ท่านยังมีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย สมิทพรีเมี่ยร์ อันเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก และมีพจนานุกรม (ดิคชั่นนารี) อีก 2 เล่มคือ ฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และยังเขียนตำราแพทย์ให้นักเรียนใช้อีกด้วย

1 มกราคม2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงประจำกอง (ธงชัยเฉลิมพล)แก่กรมทหารรักษาวัง พื้นธงสีแดงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนบนแท่น มุมธงมีอักษรย่อ"วปร"

1 มกราคม2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระรามที่6 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก อยู่ตอนเหนือขึ้นไปใกล้จังหวัดนนทบุรี เขตตำบลบางกรวย

1 มกราคม2484 เป็นวันเริ่มใช้วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม เพื่อให้เหมือนกับนานาอารยประเทศ จากเดิมใช้วันที่ 1 เมษายน ในปี พ.ศ. 2483 จึงมีแค่ 9 เดือน คือนับตั้งแต่1 เมษายน 2483 ถึง สิ้นปี 31 ธันวาคม 2483

1 มกราคม2488 ไทยได้ยินยอมลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรและอินเดีย รวมทั้งบันทึกแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย เพื่อเลิกสถานะสงคราม ความตกลงสมบูรณ์แบบมี 24 ข้อ เน้นเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากสหรัฐไทยเดิม และสี่รัฐมาลัย การคืนดินแดนให้อังกฤษ และไทยต้องส่งข้าวจำนวน1.5 ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า


2 มกราคม2482 โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย กำเนิดขึ้นโดย มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์(Genevieve Colfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2532 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด

3 มกราคม2521 ตั้ง ค่ายพระยอดเมืองขวาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ 3 จังหวัดทหารบกอุดร(ส่วนแยก 2 นครพนม) อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

4 มกราคม2309 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก(อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม

5 มกราคม2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยยกทัพต่อสู้ โดยถือดาบ 2 เล่ม เข้าจ้วงพันพม่าอย่างไม่ลดละ จนดาบหักทั้ง 2 เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"

6 มกราคม2532 กองทัพอากาศ ได้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์องค์หนึ่ง ขนาดกว้าง 50 เมตรสูง 60 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปบูชาจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาธาตุนภเมทนีดล และได้น้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษาใน พ.ศ. 2530

7 มกราคม2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่วังหน้า พระชนมายุได้58 พรรษา หลังจากทรงประชวรมา 5 ปี

7 มกราคม2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาโรงเรียนเพาะช่างขึ้นโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนามาจากกองช่างแกะไม้ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะและพัฒนามาเป็น โรงเรียนเพาะช่าง ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง สนองพระกรุณาธิคุณ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์

7 มกราคม2484 เกิดกรณีพิพาทด้วยกำลังระหว่างไทยกับ ฝรั่งเศส รัฐบาลไทยได้ตั้ง จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้กำลังทหารปรับปรุงเขตแดนไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส ผลปรากฎว่าไทยชนะ ได้ดินแดน 4 จังหวัด คือเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และนครจำปาศักดิ์ กลับคืนมาเป็นของไทย โดยมีญี่ปุ่นอาสาเข้ามาไกล่เกลี่ย

8 มกราคม2484 เครื่องบินไทยไปทิ้งระเบิดที่ พระตะบองและเสียมราฐ เป็นครั้งแรก

8 มกราคม2484 ญี่ปุ่นบุกรุกไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี โดยมีอีกส่วนหนึ่งขึ้นบกที่ทางจังหวัดสมุทรปราการ

9 มกราคม2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่หลวง เนื่องจากในเวลาดังกล่าวนั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น อู่หลวงนี้สร้างขึ้นที่โรงหล่อซึ่งหมายถึงที่ว่าการกรมทหารเรือ อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตเมื่อปี พ.ศ.2447 ค่าก่อสร้าง 500,000 บาท

9 มกราคม2472 วันก่อฤกษ์ สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นเจ้าหน้าที่ก่อสร้างโดยมีนาย อี ฟอร์โน เป็นสถาปนิก สร้างตามแบบของบริษัท ดอร์แมนลอง ประเทศอังกฤษ ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท

10 มกราคม2491 วันประสูติพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้ทรงใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ย่อจากอักษรท้ายพระนาม "รัชนีแจ่มจรัส" ท่านเป็นกวีที่ช่วยให้วรรณคดีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรุ่งโรจน์

12 มกราคม2385 มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยหมอ บรัดเลย์12 มกราคม2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์

13 มกราคม2379 หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดผู้ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ ระเปิดเข้าใส่ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง นับเป็นการเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย

13 มกราคม2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีวิทยุโทรเลข ของทางราชการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (ขณะนี้เป็นอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติแล้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร)

13 มกราคม2456 ร.6 เสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิด สถานีวิทยุโทรเลขของทางราชการแห่งแรกในไทย

14 มกราคม2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฏราชกุมาร นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

15 มกราคม2471 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เปิดการสื่อสาร ทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับยุโรปโดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลินเป็นครั้งแรก

16 มกราคม2336 ไทยเสียเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ให้แก่พม่า

16 มกราคม2488 รัฐบาลซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติครูขึ้นเป็นฉบับแรกด้วยความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1 เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์ 2 เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู 3 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก

17มกราคม 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา กม. ว่าด้วย ประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ นับเป็น กม. ฉบับแรกในเรื่องนี้

17 มกราคม2488 การรบทางเรือที่เกาะช้าง และในวันนี้ของทุก ๆ ปี กองทัพเรือถือว่าเป็นวันสดุดีและบำเพ็ญกุศลแก่ผู้เสียชีวิตในการรบแห่งราชนาวี

18 มกราคม2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส

20 มกราคม2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอดพระปฐมเจดีย์ณ จังหวัดนครปฐม ถือกันว่าพระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทยเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน

22 มกราคม2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชฑูตไปลอนดอน เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีฑูต ประกาศนี้ได้มอบสำหรับ พวกฑูตานุทูต ณ ท้องสนาม ในพระบรมมหาราชวัง

22 มกราคม กองทัพบกได้ตั้งกองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1 ขึ้น มีพลตรี ทวี ดำรงหัด เป็นผู้บัญชาการกองพล กำลังส่วนนี้ได้เดินทางไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัครที่ไปทำการรบ ในสาธารณรัฐเวียตนามเมื่อเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม2511

23 มกราคม2431 พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เดินทางออกจากหลวงพระบางกลับกรุงเทพ ฯ หลังจากที่ได้จัดระเบียบการปกครองดินแดนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

23 มกราคม2495 ไทยได้จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นครั้งแรก

24 มกราคม2384 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์(ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพเรือยกทัพไปตีเมืองบันทายมาศของญวน

24 มกราคม2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร อันได้แก่บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่าพระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึงพระเจ้ากรุง พระเจ้ากรุงบริตาเนีย

25 มกราคม2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะจาก สมเด็จพระมหารอุปราชพร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ชัยชนะจากมางจาชโร ณ พื้นที่ระหว่าง ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี กับ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้วันดังกล่วาเป็นวันกองทัพไทย ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา

25 มกราคม2227 คณะฑูตไทยคณะที่ 2 ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)25 มกราคม2485 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (บริเตนใหญ่)และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ

25 มกราคม2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะแก่พระมหา อุปราชา

28 มกราคม2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชเจดีย์ยุทธหัตถีที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดยเหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยมกว้าด้านละ19.50 เมตร สูงจากพื้นดินถึงส่วนชำรุด 6.50 เมตร

28 มกราคม2484 กรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ยุติลงโดยญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ย มีการลงนามในข้อตกลงพักรบ

29 มกราคม2382 หมอบัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นครั้งแรกในเมืองไทย

29 มกราคม2445 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ จบการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เสด็จกลับคืนสู่พระนคร