แผนปฏิบัติงานรายบุคคล ปี ๕๖


กระบวนการจัดทำแผนการปฏิบัติงานตนเอง

 IW – Plan  (Individual Work Plan)

กศน.อำเภอเนินมะปรางประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖

 


จุดมุ่งหมาย

๑.      พื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาใช้ กำกับ ควบคุม วางแผน สั่งการและประสานงาน ในการบริหารจัดการงานบุคลากรให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

๒.     เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติใช้บริหารจัดการงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ขอบเขตของงาน

๑.       งานตามมาตรฐานตำแหน่ง

๒.     งานที่ได้รับมอบหมาย

๓.     งานโครงการพิเศษนอกเหนือจากข้อ ๑ และข้อ ๒

กระบวนการจัดทำแผนงานบุคคล (IW – Plan)

ขั้นที่ ๑  ศึกษาวิเคราะห์ งาน ในบทบาทหน้าที่ตามมาตรฐานตำแหน่ง

ขั้นที่ ๒ จัดทำแผนการดำเนินงาน ๓ ด้านในปีงบประมาณ

ขั้นที่ ๓  เสนอแผนต่อผู้บังคับบัญชา

ขั้นที่ ๔  ปฏิบัติตามแผน

ขั้นที่ ๕  รายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ/กิจกรรม ภายในปีงบประมาณนั้น

 

 

 

 

ขั้นที่ ๑  ศึกษาวิเคราะห์งานในหน้าที่ตามมาตรฐานตำแหน่ง

๑.งานตามมาตรฐานตำแหน่ง
๒.งานที่ได้รับมอบหมาย
๓. งานโครงการพิเศษอื่นๆ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

ขั้นที่ ๒ จัดทำแผนงาน/กิจกรรมการดำเนินงานภายใน ปีงบประมาณ  ๒๕๕๖

รายละเอียด
ระยะเวลา (ระบุวันเริ่มดำเนินการและสิ้นสุด)
๑.    งานตามมาตรฐานตำแหน่ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๒.    งานตามที่มอบหมาย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๓.    งานโครงการพิเศษอื่นๆ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ขั้นที่ ๓ เสนอแผน IW- Plan ต่อผู้บังคับบัญชา ดังนี้

๑.     จัดทำบันทึกข้อความนำส่งพร้อมแนบเอกสาร IW- Plan ที่มีข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

๒.   จัดทำ IW – Plan เป็นรูปเล่มประกอบด้วย

           หน้าปก   ระบุ.... ชื่อสกุล.... ตำแหน่ง...... ศรช./ กศน.ตำบล...

แผ่นรองปก    ระบุ ชื่อสกุล  ผู้ส่ง...และผอ. ผู้อนุมัติแผน.....

สารบัญหน้า

รายละเอียดเนื้องานที่จัดทำตามแบบฟอร์ม

๓.    จัดส่งภายในวันที่ ๙ พฤศจิกายน   ๒๕๕๕

ขั้นที่ ๔ ปฏิบัติตามแผน ให้ดำเนินการดังนี้

๑.       แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสร็จสิ้นในระยะสั้นให้จัดทำรายงานส่งภายใน  ระยะเวลาที่กำหนด

๒.     บันทึกหารสอนให้จัดส่งหลังเสร็จสิ้นในแต่ละภาคเรียนของปีการศึกษา

๓.     กิจกรรม กพช. หรือกิจกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจบหลักสูตรของนักศึกษาให้ดำเนินการภายใน ๓๐ วันก่อนการสอบปลายภาคเรียน

๔.     กิจกรรมอื่นๆตามรายละเอียดการปฏิบัติงานให้ดำเนินการเป็นไปตามระยะเวลาที่ระบุโดยไม่ชักช้า

ขั้นที่ ๕ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑.       รายงานผลการดำเนินงานเป็นภาพรวมของทุกกิจกรรมในปีงบประมาณนั้นทั้งนี้ให้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดส่งก่อนสิ้นปีงบประมาณ

๒.     รายงานผลการดำเนินงาน ให้มีองค์ประกอบดังนี้

หน้าปก

คำนำ

สารบัญ

 

ผลการดำเนินงานด้าน กศน.ตำบล/ศรช.

รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม เชิงปริมาณ จำแนกเป็นแต่ละประเภทกิจกรรมที่ดำเนินงาน เช่น การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  เป็นต้น

เน้น เป้าหมายตั้งไว้เท่าไร   ดำเนินการได้เท่าไร    งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ      สถานที่/ระยะเวลา  ชื่อหลักสูตรต่างๆ  เป็นต้น

ผลการดำเนินงานพัฒนาตน

มีรายละเอียดเข้ารับการประชุม/อบรม หลักสูตร อะไรบ้าง ในปีงบประมาณ ทั้งที่หน่วยงานจัดให้ หรือการอบรมด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ เป็นต้น

สรุปรายละเอียดการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ

สรุปรายละเอียดการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานตำแหน่งของตนเอง (ตามเกณฑ์การประเมินในแต่ละครึ่งปีงบประมาณ ที่ สำนักงาน กศน.กำหนด)

ภาคผนวก

๑.รูปภาพประกอบกิจกรรม

๒.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน

๓.ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมา

๓.     รายงานผลการจัดกิจกรรม/โครงการให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำรายงานผลส่งภายใน ๑๔ วัน หลังเสร็จสิ้นโครงการ

 

 

 

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม


Blue Ocean Strategy : จากหลักการพื้นฐานสู่การปฏิบัติในท้องถิ่น

บทความธุรกิจและการลงทุน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์ชาน คิม (W. Chan Kim)

วันที่: 19 มีนาคม 2009

ปัจจุบัน คงไม่มีนักธุรกิจคนใดไม่รู้จัก "กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม" หรือบลู โอเชี่ยน สตราติจี้ (Blue Ocean Strategy) ในโอกาสที่ศาสตราจารย์ชาน คิม (W. Chan Kim) วิทยากรจากมหาวิทยาลัยธุรกิจนานาชาติ ผู้เขียนหนังสือ Blue Ocean Strategy ที่มียอดขาย 2 ล้านเล่ม และผ่านการแปลถึง 41 ภาษา เดินทางมายังไทยเพื่อร่วมงานสัมมนา "Blue Ocean Strategy" From key principles to local practice จัดโดย บริษัท AIM Inlines "กรุงเทพธุรกิจ" ได้ถ่ายทอดแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในยุคที่หลายๆ คน เร่งมองหาทางออกในขณะนี้ ศ. คิม กล่าวว่า การที่นักธุรกิจจะประสบความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเพียงอย่างเดียว แต่ความสามารถหาลูกค้าหรือความต้องการใหม่ ๆ ก็ทำให้ประสบความสำเร็จได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

คิดแบบนอกกรอบ

ปัจจุบันมีหลายองค์กร ที่ใช้กลยุทธ์บลูโอเชี่ยน ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการ อาทิเช่น สตาร์บัคส์ ที่สามารถสร้างตลาดใหม่เกิดขึ้น จนเป็นเชนร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก ศ.คิม มองว่าในยุควิกฤติเศรษฐกิจ การนำกลยุทธ์บลูโอเชี่ยนมาใช้ ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ โดยเริ่มต้นจาก การคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ แทนการคิดแบบเดิมที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน   "จุดต่างแตกต่างของบลูโอเชี่ยน ก็คือ สามารถลดต้นทุนและเพิ่มคุณ ค่าของสินค้าและบริการในเวลาเดียวกัน ขณะที่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแบบเดิม จะต้องเลือกระหว่างเพิ่มคุณค่าหรือลดต้นทุนเท่านั้น"   ซึ่งความสำเร็จที่ชัดเจนและแตกต่าง คือ ทำให้เกิดกระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้นจากเดิมที่อยู่ในน่านน้ำสีแดง (Red Ocean) ทั้งนี้ ศ.คิม ยกตัวอย่างวิธีกระตุ้นกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนคิดนอกกรอบได้ คือ ต้องเข้าใจในสภาพแวดล้อมและสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นให้มองไปที่ลูกค้า
โดยพยายามทำความเข้าใจลูกค้า และต้องลืมแนวคิดแบบเดิม ๆ เพราะสิ่งที่ลูกค้าให้กลับมา คือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้น จะต้องเข้าใจและเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น เรียนรู้ขั้นตอนของการรับฟังและมองสิ่งที่เรียกว่า ลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้า (Non-Customer) ให้มากขึ้นด้วย

เบนเข็มสร้างตลาดใหม่

หลักการสำคัญคือ การสร้างตลาดใหม่เพื่อหลีกหนีการแข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย เพราะเราต้องสร้างขอบเขตตลาดขึ้นมาใหม่ เริ่มจากการ มองข้ามไปยังอุตสาหกรรมทางเลือกอื่น ๆ มองข้ามไปยังกลุ่มกลยุทธ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน มองข้ามไปยังห่วงโซ่ของผู้ซื้อ มองข้ามไปยังผลิตภัณฑ์เสริมและข้อเสนอบริการเพิ่มเติม มองข้ามไปยังความพึงพอใจทางอารมณ์ หรือด้านการใช้งานสำหรับผู้ซื้อและท้ายสุดคือ การมองข้ามเรื่องกาลเวลา ศ. คิม ยกตัวอย่าง London Symphony orchestra ที่ใช้กลยุทธ์นี้ สร้างตลาดใหม่ ด้วยการผสมผสานจุดเด่นของดนตรีคสาสสิกกับดนตรีป๊อป เป็นสิ่งดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม และเปลี่ยนรูปแบบการแสดงจากเดิมที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก ก็ลดลงเหลือแค่ 1 ใน 3 และเปลี่ยนสถานที่แสดง เป็นที่แยงกี้สเตเดี้ยม ช่วยให้ลดต้นทุนได้มาก ขณะเดียวกัน ก็ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงดนตรีคลาสสิกได้ง่ายขึ้น เพราะรูปแบบการนำเสนอที่เปลี่ยนไป ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างง่ายดาย จากเดิมที่คนที่นิยมดู จะเป็นกลุ่มคนสูงวัยและมีภาพลักษณ์หรูหราอลังการ

ให้ความสำคัญคนที่ไม่ใช่ลูกค้า

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่าง เกมนินเทนโด ที่มีแนวคิดพัฒนาสินค้าให้กลุ่มลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้า ด้วยการพัฒนาเกมที่ทุกคนในบ้าน สามารถเล่นด้วยกันได้ออกมาเมื่อปี 2549 จนกลายเป็นบริษัทเกมอันดับ 1 ในโลก เพราะสามารถขยายฐานลูกค้า ในส่วนที่ไม่ใช่ลูกค้าหลักได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว
จากเดิมที่กลุ่มเป้าหมายหลักมีอายุ 15-19 ปี ซึ่งมีสัดส่วนในตลาดประมาณ 12% ซึ่งมีความต้องการหลากหลาย จนบริษัทต้องสต็อกสินค้าจำนวนมาก ให้กับลูกค้าแต่ละช่วงอายุ และยังต้องแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งอีกด้วย แต่หลังจากออกเกมสำหรับครอบครัว อาทิเช่น กอล์ฟ ก็ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมหาศาล "ตรงนี้ก็เท่ากับเป็นการสร้างน่านน้ำใหม่ ให้คนที่ยังไม่เคยคิดถึงสินค้าของคุณนั่นเอง" เหล่านี้ คือ ตัวอย่างของ "กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม" ที่มีข้อสรุปคือ การหนีการแข่งขัน โดยให้ผู้ซื้ออยู่ตรงกลาง โดยที่เราต้องสร้างคุณค่าสำหรับผู้ซื้อ ซึ่งในที่นี้ผู้ซื้อหมายถึงใครก็ได้ จะเป็นลูกค้าโดยตรงหรือซัพพลายเออร์ โดยต้องพยายามทำให้ลูกค้ามีความสุข หรือเกิดความพึงพอใจมากที่สุด

นวัตกรรม ต้นทุนสูง ความสำเร็จต่ำ

สิ่งสำคัญอีกประการที่ ศ. คิม กล่าวเตือนคือ การที่หลายคน มักคิดว่า จะลงทุนสร้างนวัตกรรมออกมาสร้างตลาดใหม่ เป็นความคิดที่ผิด เพราะจากการงานวิจัยพบว่า นวัตกรรมคิดเป็นแค่ 10% ของความสำเร็จเท่านั้น และการลงทุนเรื่องนวัตกรรมมีความเสี่ยงสูง จึงไม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่า กลยุทธ์น่านน้ำสีครามคือ การสร้างตลาดใหม่โดยไม่ต้องแข่งขันกันไปตายในน่านน้ำสีแดง แต่ถึงกระนั้นน่านน้ำสีคราม ก็อาจกลายเป็นน่านน้ำสีแดงได้เช่นกัน จึงต้องมีการสร้างน่านน้ำสีครามอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างตลาดใหม่ ไปเรื่อยๆ เพราะไม่ใช่แค่เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่เป็นการสร้างผลกำไรในอนาคตนั่นเอง

ที่มา - กรุงเทพธุรกิจ

ฝึกประสบการณ์จังหวัดต้นแบบ


คำขวัญ ประจำจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
ประวัติเมืองพะเยา
พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อว่า"เมืองภูกามยาวหรือพยาว"เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา ดังนี้พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงินกษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนได้ให้ขุนจอมธรรมโอรสองค์ที่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว   ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ขุนจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวได้๒๔ ปี ก็สิ้นพระชนม์ขุนเจื่องโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทนใน  ขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมือง   นครเงินยาง ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือญวนได้สำเร็จ ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนักจึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำ สอนให้และสละราชสมบัติ  ให้แก่ขุนเจื่องเมื่อขุนเจื่องได้ครองเมืองเงินยางแล้วจึงให้โอรสชื่อว่า"ลาวเงินเรือง"ขึ้นครองเมืองพะเยาแทนท้าวลาวเงินเรืองครองเมืองพะเยาได้๑๗ปีก็สิ้นพระชนม์  ขุนแดงโอรสครองราชย์ต่อมาเป็นเวลา๗ปีขุนชองซึ่งเป็นน้าก็แย่งราชสมบัติและได้ครองเมืองพะเยาประมาณ ๒๐ปีและมีผู้ครองราชย์สืบต่อมาจนถึงพระยางำเมือง  กษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่๙ซึ่งเป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษาพระบิดาส่งไปศึกษาที่สำนักสุกันตฤาษีเมืองลพบุรี  จึงได้รู้จักกับพระร่วง   แห่งกรุงสุโขทัยโดยได้ศึกษาศิลปศาสตร์จากอาจารย์เดียวกันและทรงเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยาปีพุทธศักราช  ๑๓๑๐    พ่อขุนมิ่ง  เมืองพระราชบิดา  สิ้นพระชนม์จึงได้ขึ้นครองราชย์แทน  ต่อมาพ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพมาประชิดเมืองพะเยา  พ่อขุนงำเมืองสั่งให้ไพร่พลอยู่ในความสงบและได้ให้ เสนาอำมาตย์ ออกต้อนรับโดยดีพระองค์ได้ยกเมืองชายแดนบางเมืองให้แก่พ่อขุนเม็งรายเพื่อเป็นการสงบศึกและทั้งสองพระองค์ยังได้ทำสัญญาเป็นมิตรต่อกัน ตลอดไปพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายสนิทได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนพ่อขุนงำเมืองเป็นประจำทุกปีและได้มีโอกาส รู้จักพ่อขุนเม็งรายทั้งสามพระองค์ทรงเป็นพระสหายสนิทกันมาก ถึงกับได้หันหลังพิงกันพร้อมกับทำสัจจปฏิญาณ แก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำกู(แม่น้ำอิง)ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กันจะเป็นมิตรสหายที่ดีต่อกันและได้กรีดโลหิตออกรวมกันในขัน    ผสมน้ำดื่มพร้อมกัน เมื่อปีพุทธศักราช  ๑๘๑๖  พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลงขุนคำแดงและขุนคำลือได้สืบราชสมบัติต่อมาตามลำดับ   ในสมัยขุนคำลือนี้เองที่เมือง       พะเยาต้องเสียเอกราชไปพระยาคำฟู แห่งนครชัยบุรีศรีเชียงแสนได้ร่วมกับพระยากาวเมืองน่านยกทัพมาตีเมืองพะเยาพระยาคำฟูตีเมืองพะเยาได้ก่อนและได้เกิดขัด ใจกับพระยากาวทำให้เกิดการสู้รบพระยาคำฟูเสียทีจึงยกทัพกลับเชียงแสน  เมืองพะเยาจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมาพุทธศักราช  ๒๓๘๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปางหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาอีกหลายท่านจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยารวมอยู่กับจังหวัดเชียงราย  ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  พะเยาจึงได้รับการยกฐานะ      จากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ ๖,๓๓๕ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙  อำเภอ  ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว
ข้อมูลทั่วไป
พะเยาเป็นจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 712 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 6,353 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,959,412 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบสูง นอกนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเทือกเขาที่สำคัญคือ เทือกเขาผีปันน้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ ไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำยม แม่น้ำแม่ลาว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดน่าน และแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่
ขนาดและลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,791,450 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ มีเทือกเขาล้อมรอบทั้งด้านตะวันตก ตะวันออก ด้านใต้และทางตอนกลางของ จังหวัด มีทิวเขาผีปันน้ำโอบรอบเป็นกำแพงธรรมชาติ ภูมิประเทศจึงมีลักษณะเป็นที่ราบระหว่าง ภูเขาเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ 4 แห่ง ถ้าจะแบ่งภูมิประเทศตามลักษณะเขตลุ่มน้ำแล้ว จังหวัดพะเยามีพื้นที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง คือ พื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอแม่ใจ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ส่วนที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา คือ อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิด แม่น้ำยมและไหลผ่าน ไปรวมกับ แม่น้ำโขง แม่น้ำวัง แม่น้ำ และแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดนครสวรรค์
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพะเยา มี 4 แห่ง คือ
1. กว้านพะเยา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา เป็นแหล่งประมงน้ำจืด ที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และใช้ในการเกษตรในพื้นที่กว้างขวาง นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่ง น้ำดื่มน้ำใช้ของชาวจังหวัดพะเยา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพะเยา กว๊านพะเยาเกิดจากแม่น้ำสายต่างๆ ทางเทือกเขาด้านตะวันตกของจังหวัด และลำน้ำต่างๆ ใน เขตอำเภอแม่ใจ
2. หนองเล็งทราย เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่รองจากกว๊านพะเยาอยู่ในเขตอำเภอแม่ใจ มีเนื้อที่ ประมาณ 4,000 ไร่ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากหนองเล็งทรายในการเพาะปลูกและ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
3. แม่น้ำยม มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูลังกาของเทือกเขาผีปันน้ำ อยู่ในเขตท้องที่อำเภอปง ไหลผ่านอำเภอเชียงม่วน ไปรวมกับแม่น้ำน่านที่บ้านเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำยมช่วงที่ผ่านจังหวัดพะเยาเป็นต้นน้ำและมีระยะสั้น แม่น้ำยม ยาวประมาณ 550 กิโลเมตร
4. แม่น้ำอิง ต้นน้ำเกิดจากลำน้ำสายต่างๆ มาจากเทือกเขาทางด้านตะวันตกของอำเภอแม่ใจ ไหลรวมกันลงสู่กว๊านพะเยาผ่านอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน แล้ววกขึ้นเหนือผ่านอำเภอเทิง ออกไป สู่จังหวัดเชียงราย และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีความยาวประมาณ 240 กิโลเมตร
เทือกเขา
จังหวัดพะเยามีบางพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูงภูเขา ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีระดับความสูง ตั้งแต่ 300-1,550 เมตร จากระดับน้ำทะเล คลุมพื้นที่ 4,685 ตารางกิโลเมตร ใน 7 อำเภอ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่
1. เทือกเขาที่พาดผ่านตอนกลางของจังหวัดในเขตอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ดอยภูลังกา ซึ่งมีระดับความสูง 1,098 เมตร และดอยสันปันน้ำ ในเขตอำเภอปง เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำยม
2. เทือกเขาบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของจังหวัดพะเยา คือ ทางด้านใต้ของอำเภอ ดอกคำใต้ เรื่อยขึ้นไปจนถึงทิศเหนือของอำเภอจุน ประกอบด้วย ดอยควงเทวดา ระดับความสูง 733 เมตรดอยขุนน้ำม่วง ระดับความสูง 868 เมตร ดอยบาสโตก ระดับความสูง 609 เมตร ดอยขุนน้ำแพะ ดอยแง่ม ดอยแง้ม
3. เทือกเขาบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองพะเยา ลงมาทางใต้ ประกอบ ด้วย เทือกเขาดอกคำใต้ ระดับความสูง 1,300 เมตร ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่ฟาด ระดับความสูง 1,550 เมตร
4. เทือกเขาด้านตะวันตก เขตอำเภอเมืองพะเยานับตั้งแต่ด้านเหนือบริเวณเทือกเขา ดอยขุนแม่ต๋ำ ระดับความสูง 1,330 เมตร ลงมาทางใต้ คือ ดอยขุนแม่สุก ระดับความสูง 1,332 เมตร ดอยขุนแม่ต๋อม ขุนแม่ฟาด ระดับความสูง 1,550 เมตร ดอยหลวง ระดับความสูง 1,200 เมตร
ป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีประมาณ 1,849,438 ไร่ หรือร้อยละ 46.71 ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าไม้เบญจพรรณกระจายอยู่ทั่วไป อำเภอที่มีความหนาแน่น ได้แก่ เขตอำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง และอำเภอเมืองพะเยา ไม้ที่สำคัญ คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง และไม้รัง เป็นต้น
ชนิดของป่าและพันธุ์ไม้ที่พบในจังหวัดพะเยา แยกออกเป็นรายอำเภอดังนี้
1. อำเภอเมืองพะเยา สภาพโดยทั่วไปเป็นขุมชนเมือง พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของอำเภอใช้เป็น พื้นที่เกษตรกรรม และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย พื้นที่ป่าไม้ของอำเภอจึงเหลือไม่มาก ไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้เหียง ไม้พลวง ไม้ตะเคียน ไม้แดง ไม้ยาง และไม้ตะแบก

2. อำเภอแม่ใจ ป่าไม้ในเขตอำเภอแม่ใจ ส่วนใหญ่เป็นป่าในหุบเขาสภาพของป่า ได้ถูก ทำลาย โดยการตัดไม้ ทั้งจากการกระทำของชาวไทยพื้นราบ และชาวไทยภูเขา นอกจากนั้น พื้นที่บางแห่ง ยังได้รับอนุญาตเป็นป่าสัมปทาน ไม้ที่พบได้แก่ ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้กระบก ไม้ตะเคียน ไม้ตะเคียนหมู เป็นต้น
3. อำเภอดอกคำใต้ ป่าไม้ในเขตอำเภอดอกคำใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ ที่พบ ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้สัก
4. อำเภอจุน ป่าไม้ส่วนใหญ่ เป็นป่าไม้เบญจพรรณหรือป่าผสม ปัจจุบันจำนวนไม้ในป่า มีไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก การตัดไม้ทำลายป่า ไม้ที่พบได้ไม้เปา ไม้หัง ไม้ป๋วย ไม้แงะ ไม้ก่อดูก ไม้สัก ไม้ประดู่ และไม้ชิงชัน
5. อำเภอเชียงคำ ป่าที่พบในเขตอำเภอนี้ ส่วนใหญ่เป็นป่าที่มีระดับความสูง 500-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ได้แก่ บริเวณต้นน้ำลำธาร อันเป็นแหล่ง กำเนิดของแม่น้ำลำธาร หลายสาย ในอำเภอเชียงคำ เช่น น้ำลาว น้ำแวน เป็นต้น
6. อำเภอเชียงม่วน ป่าที่พบส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้รัง (เบา) และไม้เต็ง (แงะ) ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้พลวง นอกจากนั้นมีป่าแพะ ป่าแดง ไม้ที่พบได้แก่ ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้รกฟ้า และไม้สัก
7. อำเภอปง ป่าไม้ในเขตอำเภอปง เกือบทั้งหมดเป็นป่าทึบ โดยเฉพาะป่าน้ำปุกและผาตั้ง ป่าห้วยขานน้ำงิม ตำบลงิม แม่น้ำเม่า ตำบลปง นอกจากนั้น มีป่าแพะ ป่าแดง ไม้ที่พบในเขตนี้ ได้แก่ ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้รกฟ้า และไม้สัก
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดพะเยามีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน อยู่ในระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 42 องศาเซลเซียส
2. ฤดูฝน อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกซุกหนาแน่น ในเดือนพฤษภาคม และเดือนกันยายนปริมาณน้ำฝนบางแห่งอยู่ในเกณฑ์ดี บางแห่งแห้งแล้ง จนไม่สามารถทำนาได้
3. ฤดูหนาว อยู่ในระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวจัด ในเดือนธันวาคมและมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดปี 20.2 องศาเซลเซียส
ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่าน    อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ -นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่ ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงสามารถนั่งรถไฟสายเหนือลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามได้ที่ โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66 หรือwww.transport.co.th บริษัท ขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. 0 5443 1363 สำหรับรถเอกชนติดต่อบริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0 2954 3601, 0 5443 1865 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-9, 0 5424 6503จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆ ครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร. 0 5324 6503
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดพะเยา ต้องใช้เที่ยวบินกรุงเทพฯ -เชียงราย หรือกรุงเทพฯ แพร่ จากนั้นต้องเช่าเหมารถมายังจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่ 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 หรือwww.thaiairways.com

พลังแห่งการพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ


พลังแห่งการพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ
          การจัดการศึกษาของชาติมีความมุ่งหมายเพื่อให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดีมีความสามารถและมีความสุขเป็นพื้นฐานอันสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องมือชี้นำสังคมผู้ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศซึ่งสอดคล้องกับการปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง รัฐบาลมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีเป้าหมายหลัก ๓ประการคือพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาการเรียนรู้ของคนไทย  เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
                 การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมซึ่งสอดคล้องกับหลักการพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕และพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้มีการจัดระบบโครงสร้าง กระบวนการบริหารจัดการให้มีเอกภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมอันจะก่อให้เกิดความคล่องตัว มีอิสระด้านการบริหารจัดการโดยเฉพาะการใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based) เป็นหน่วยสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
                   ในปัจจุบันการปฎิบัติงานในสถานศึกษาเน้นให้สมาชิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมและเป็นหน่วยขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาที่สำคัญเนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีภาระรับผิดชอบในการบริหารจัดการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมสามารถจัดกิจกรรมทางการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถทักษะและคุณลักษณะที่น่าเชื่อถือเพื่อส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้นให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บรรลุเป้าหมายซึ่งจำเป็นต้องใช้ความสามารถที่เหมาะสมสอดคล้องกับบทบาทที่ปฎิบัติประสบผลสำเร็จโดดเด่นกว่าผู้อื่นซึ่งเรียกว่าสมรรถนะ(Competency) นั่นเอง
การบริหารงานในสถานศึกษานิยมแบบราบมากกว่าเป็นแบบปิรามิดตลอดจนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอนโดยยึดกิจกรรมที่ดำเนินการกับผู้เรียนเป็นสำคัญ จะสามารถช่วยให้การทำงานบังเกิดผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงสิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่องหรืออาจกล่าวได้ว่าสมรรถนะนั้นเป็นอาวุธสำคัญที่มีอยู่ในตัวตนของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพอันจะนำไปสู่ความสำเร็จได้แนวความคิดเรื่องสมรรถนะ(Competency) จึงเข้ามามีบทบาทและถูกนำมาใช้ในการจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเหตุเพราะการกำหนดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องกำหนดให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของหน่วยงานอีกทั้งยังนำหลักการ แนวคิด มาใช้ในกระบวนการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหลายมิติ (อาภร ภู่วิทยพันธุ์.๒๕๔๘:คำนำ) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องใช้ความสามารถที่มีอยู่และที่ซ่อนเร้นอยู่ มาบริหารจัดการศึกษาให้บังเกิดผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้น
                    สำหรับความหมายของสมรรถนะนั้นสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(๒๕๔๗)ว่าสมรรถนะ (Competency) คือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆในองค์กร อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (๒๕๔๗:๖๑) ให้นิยามของสมรรถนะไว้ว่าคือคุณลักษณะของบุคคลซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณสมบัติต่างๆอันได้แก่ ค่านิยม จริยธรรม บุคลิกภาพ คุณลักษณะทางกายภาพและอื่นๆซึ่งจำเป็นและสอดคล้องกับความเหมาะสมขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสามารถจำแนกได้ว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานได้ต้องมีคุณลักษณะเด่นๆอะไรหรือคุณลักษณะสำคัญๆอะไรบ้างหรืออีกนัยหนึ่งสาเหตุที่ทำงานแล้วไม่ประสบความสำเร็จเพราะขาดคุณลักษณะบางประการคืออะไร เป็นต้น ประจักษ์ ทรัพย์อุดม (๒๕๕๐:๓) ได้ให้ความหมายของคำว่าสมรรถนะไว้ว่า คือความรู้(Knowledge) ทักษะ(Skill) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและมีผลให้บุคคลนั้นปฎิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ดีกว่าบุคคลอื่น ซึ่งสมรรถนะของคนเกิดได้จาก ๓ ทางคือ ๑) เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ๒) เกิดจากประสบการณ์การทำงาน ๓) เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา  หากจะพิจารณาความหมายของสมรรถนะตามความคิดเห็นของนักวิชาการในประเทศพอประมวลได้ว่า หมายถึง กลุ่มพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกและส่งผลต่อการปฎิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบทำให้การปฎิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จตามเกณฑ์มาตรฐานหรือสูงต่ำโดยมีองค์ประกอบ ๓ ส่วนคือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะส่วนบุคคล(Attributes)ที่ซ่อนเร้นอยู่ได้แก่ ค่านิยม จริยธรรม บุคลิกภาพ คุณลักษณะทางกายภาพและอื่นๆและกลุ่มพฤติกรรมที่ถูกนำมาใช้จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับภาระงานที่ปฎิบัติในตำแหน่งนั้นๆด้วย
                    สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (๒๕๔๗) ระบุว่าสมรรถนะหรือ Competency มีความสำคัญต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรและองค์การ สมรรถนะมีประโยชน์ต่อตัวผู้ปฎิบัติงานต่อตัวองค์กรหรือหน่วยงานและต่อการบริหารงานบุคคลโดยรวมดังนี้
๑)      ช่วยให้การคัดสรรบุคคลที่มีลักษณะดีทั้งความรู้ ทักษะ และความสามารถตลอดจนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับงานเพื่อปฎิบัติงานให้สำเร็จตามความต้องการขององค์กรอย่างแท้จริง
๒)    ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานทราบถึงระดับความสามารถของตัวเองว่าอยู่ในระดับใดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
๓)     ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาฝึกอบรมแก่พนักงานองค์กร
๔)     ช่วยสนับสนุนให้ตัวชี้วัดหลักของผลงาน(KPIs) บรรลุเป้าหมายเพราะ Competency จะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าถ้าต้องการให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดหลักแล้วจะต้องใช้ Competency ตัวไหนบ้าง
๕)     ป้องกันไม่ให้ผลงานเกิดจากโชคชะตาเพียงอย่างเดียว เช่น ยอดขายของพนักงานขายเพิ่มสูงกว่าเป้าที่กำหนดทั้งๆที่พนักงานขายคนนั้นไม่ค่อยตั้งใจทำงานมากนักแต่เนื่องจากความต้องการของตลาดสูง จึงทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเองโดยไม่ต้องลงแรงอะไรมากแต่ถ้ามีการวัดสมรรถนะแล้วจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานคนนั้นประสบความสำเร็จเพราะโชคช่วยหรือด้วยความสามารถของเขาเอง    
๖)      ช่วยให้เกิดการหล่อหลอมไปสู่สมรรถนะขององค์กรที่ดีขึ้นเพราะถ้าทุกคนปรับสมรรถนะของตัวเองให้เข้ากับผลงานที่องค์กรต้องการอยู่ตลอดเวลาแล้วในระยะยาวก็จะส่งผลให้เกิดเป็นสมรรถนะเฉพาะขององค์กรนั้นๆเช่น เป็นองค์กรแห่งการคิดสร้างสรรค์เพราะทุกคนในองค์กรมีสมรรถนะในเรื่องการคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)
ในส่วนของการพัฒนาบุคลากรนั้นแนวคิดเรื่องสมรรถนะนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากการมุ่งเสริมสร้างความสามารถให้ทรัพยากรบุคคลโดยมีความเชื่อว่าเมื่อพัฒนาคนให้มีความสามารถแล้วคนจะใช้ความสามารถที่มีไปผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการนำเรื่องสมรรถนะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงควรมุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรเป็นหัวใจสำคัญ ต้องมีการพิจารณาว่าบุคคลในองค์กรมีความสามารถอย่างไรจึงจะทำให้องค์กรเหนือกว่าคู่แข่งและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ดังนั้น ประโยชน์ของ Competency ในด้านการพัฒนาบุคคลจึงสรุปได้ดังนี้
๑)     การเลือกสรรเพื่อให้ได้คนที่มีความสามารถเหมาะสมกับองค์กรและงาน
๒)    การเลื่อนระดับปรับตำแหน่งให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
๓)    การพัฒนาฝึกอบรมความสามารถของบุคคลให้สอดคล้องกับตำแหน่งงาน
๔)    การเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินผลการปฎิบัติงานของบุคคล
๕)    การบริหารผลงาน (Performance managemence)
๖)     การบริหารคนเก่ง (Talent Management)
๗)    การโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่การงาน
๘)    การพัฒนาความก้าวหน้าสายอาชีพ
เอนกลาภ สุทธินันท์ (๒๕๔๘) กล่าวถึงความสำคัญของสมรรถนะว่า สมรรถนะมีทั้งส่วนที่เหมือนและมีทั้งส่วนที่แตกต่างจากความสามารถทั่วไปคือในส่วนที่เหมือนประกอบไปด้วยความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะความชำนาญในการทำงานแต่ในส่วนที่แตกต่างกันคือศักยภาพส่วนบุคคล อุปกรณ์ เครื่องมือที่ต้องใช้ในการปฎิบัติงาน อำนาจการตัดสินใจที่เหมาะสมที่ต้องใช้ในการปฎิบัติงานนั้นๆให้บรรลุผลงานตามเป้าหมาย ดังนั้นเหตุผลสำคัญที่ต้องมีการกำหนดสมรรถนะในการทำงานก็คือ
๑)     สมรรถนะคือคุณสมบัติที่สำคัญที่ทำให้บุคคลในแต่ละตำแหน่งงานสามารถทำงานให้บรรลุผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ
๒)     เป็นแนวทางการ คัดเลือก พัฒนา โยกย้าย บุคลากร
๓)     เป็นแนวทางการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน
๔)     ประเมินผลงานพนักงานอย่างเป็นธรรม
๕)     ป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดจากการทำงาน
๖)      สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฎิบัติงาน
จะเห็นได้ว่าสมรรถนะนั้นมีความสำคัญต่อการปฎิบัติงานของบุคคล การดำเนินงานขององค์กรและมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารงานบุคคลขององค์กร โดยที่สมรรถนะมีผลทำให้การดำเนินภารกิจบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ