ฝึกประสบการณ์จังหวัดต้นแบบ


คำขวัญ ประจำจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
ประวัติเมืองพะเยา
พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อว่า"เมืองภูกามยาวหรือพยาว"เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา ดังนี้พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงินกษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนได้ให้ขุนจอมธรรมโอรสองค์ที่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว   ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ขุนจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวได้๒๔ ปี ก็สิ้นพระชนม์ขุนเจื่องโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทนใน  ขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมือง   นครเงินยาง ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือญวนได้สำเร็จ ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนักจึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำ สอนให้และสละราชสมบัติ  ให้แก่ขุนเจื่องเมื่อขุนเจื่องได้ครองเมืองเงินยางแล้วจึงให้โอรสชื่อว่า"ลาวเงินเรือง"ขึ้นครองเมืองพะเยาแทนท้าวลาวเงินเรืองครองเมืองพะเยาได้๑๗ปีก็สิ้นพระชนม์  ขุนแดงโอรสครองราชย์ต่อมาเป็นเวลา๗ปีขุนชองซึ่งเป็นน้าก็แย่งราชสมบัติและได้ครองเมืองพะเยาประมาณ ๒๐ปีและมีผู้ครองราชย์สืบต่อมาจนถึงพระยางำเมือง  กษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่๙ซึ่งเป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษาพระบิดาส่งไปศึกษาที่สำนักสุกันตฤาษีเมืองลพบุรี  จึงได้รู้จักกับพระร่วง   แห่งกรุงสุโขทัยโดยได้ศึกษาศิลปศาสตร์จากอาจารย์เดียวกันและทรงเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยาปีพุทธศักราช  ๑๓๑๐    พ่อขุนมิ่ง  เมืองพระราชบิดา  สิ้นพระชนม์จึงได้ขึ้นครองราชย์แทน  ต่อมาพ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพมาประชิดเมืองพะเยา  พ่อขุนงำเมืองสั่งให้ไพร่พลอยู่ในความสงบและได้ให้ เสนาอำมาตย์ ออกต้อนรับโดยดีพระองค์ได้ยกเมืองชายแดนบางเมืองให้แก่พ่อขุนเม็งรายเพื่อเป็นการสงบศึกและทั้งสองพระองค์ยังได้ทำสัญญาเป็นมิตรต่อกัน ตลอดไปพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายสนิทได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนพ่อขุนงำเมืองเป็นประจำทุกปีและได้มีโอกาส รู้จักพ่อขุนเม็งรายทั้งสามพระองค์ทรงเป็นพระสหายสนิทกันมาก ถึงกับได้หันหลังพิงกันพร้อมกับทำสัจจปฏิญาณ แก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำกู(แม่น้ำอิง)ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กันจะเป็นมิตรสหายที่ดีต่อกันและได้กรีดโลหิตออกรวมกันในขัน    ผสมน้ำดื่มพร้อมกัน เมื่อปีพุทธศักราช  ๑๘๑๖  พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลงขุนคำแดงและขุนคำลือได้สืบราชสมบัติต่อมาตามลำดับ   ในสมัยขุนคำลือนี้เองที่เมือง       พะเยาต้องเสียเอกราชไปพระยาคำฟู แห่งนครชัยบุรีศรีเชียงแสนได้ร่วมกับพระยากาวเมืองน่านยกทัพมาตีเมืองพะเยาพระยาคำฟูตีเมืองพะเยาได้ก่อนและได้เกิดขัด ใจกับพระยากาวทำให้เกิดการสู้รบพระยาคำฟูเสียทีจึงยกทัพกลับเชียงแสน  เมืองพะเยาจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมาพุทธศักราช  ๒๓๘๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปางหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาอีกหลายท่านจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยารวมอยู่กับจังหวัดเชียงราย  ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  พะเยาจึงได้รับการยกฐานะ      จากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ ๖,๓๓๕ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙  อำเภอ  ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว
ข้อมูลทั่วไป
พะเยาเป็นจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 712 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 6,353 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,959,412 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบสูง นอกนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเทือกเขาที่สำคัญคือ เทือกเขาผีปันน้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ ไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำยม แม่น้ำแม่ลาว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดน่าน และแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่
ขนาดและลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,791,450 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ มีเทือกเขาล้อมรอบทั้งด้านตะวันตก ตะวันออก ด้านใต้และทางตอนกลางของ จังหวัด มีทิวเขาผีปันน้ำโอบรอบเป็นกำแพงธรรมชาติ ภูมิประเทศจึงมีลักษณะเป็นที่ราบระหว่าง ภูเขาเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ 4 แห่ง ถ้าจะแบ่งภูมิประเทศตามลักษณะเขตลุ่มน้ำแล้ว จังหวัดพะเยามีพื้นที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง คือ พื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอแม่ใจ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ส่วนที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา คือ อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิด แม่น้ำยมและไหลผ่าน ไปรวมกับ แม่น้ำโขง แม่น้ำวัง แม่น้ำ และแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดนครสวรรค์
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพะเยา มี 4 แห่ง คือ
1. กว้านพะเยา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา เป็นแหล่งประมงน้ำจืด ที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และใช้ในการเกษตรในพื้นที่กว้างขวาง นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่ง น้ำดื่มน้ำใช้ของชาวจังหวัดพะเยา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพะเยา กว๊านพะเยาเกิดจากแม่น้ำสายต่างๆ ทางเทือกเขาด้านตะวันตกของจังหวัด และลำน้ำต่างๆ ใน เขตอำเภอแม่ใจ
2. หนองเล็งทราย เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่รองจากกว๊านพะเยาอยู่ในเขตอำเภอแม่ใจ มีเนื้อที่ ประมาณ 4,000 ไร่ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากหนองเล็งทรายในการเพาะปลูกและ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
3. แม่น้ำยม มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูลังกาของเทือกเขาผีปันน้ำ อยู่ในเขตท้องที่อำเภอปง ไหลผ่านอำเภอเชียงม่วน ไปรวมกับแม่น้ำน่านที่บ้านเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำยมช่วงที่ผ่านจังหวัดพะเยาเป็นต้นน้ำและมีระยะสั้น แม่น้ำยม ยาวประมาณ 550 กิโลเมตร
4. แม่น้ำอิง ต้นน้ำเกิดจากลำน้ำสายต่างๆ มาจากเทือกเขาทางด้านตะวันตกของอำเภอแม่ใจ ไหลรวมกันลงสู่กว๊านพะเยาผ่านอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน แล้ววกขึ้นเหนือผ่านอำเภอเทิง ออกไป สู่จังหวัดเชียงราย และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีความยาวประมาณ 240 กิโลเมตร
เทือกเขา
จังหวัดพะเยามีบางพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูงภูเขา ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีระดับความสูง ตั้งแต่ 300-1,550 เมตร จากระดับน้ำทะเล คลุมพื้นที่ 4,685 ตารางกิโลเมตร ใน 7 อำเภอ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่
1. เทือกเขาที่พาดผ่านตอนกลางของจังหวัดในเขตอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ดอยภูลังกา ซึ่งมีระดับความสูง 1,098 เมตร และดอยสันปันน้ำ ในเขตอำเภอปง เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำยม
2. เทือกเขาบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของจังหวัดพะเยา คือ ทางด้านใต้ของอำเภอ ดอกคำใต้ เรื่อยขึ้นไปจนถึงทิศเหนือของอำเภอจุน ประกอบด้วย ดอยควงเทวดา ระดับความสูง 733 เมตรดอยขุนน้ำม่วง ระดับความสูง 868 เมตร ดอยบาสโตก ระดับความสูง 609 เมตร ดอยขุนน้ำแพะ ดอยแง่ม ดอยแง้ม
3. เทือกเขาบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองพะเยา ลงมาทางใต้ ประกอบ ด้วย เทือกเขาดอกคำใต้ ระดับความสูง 1,300 เมตร ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่ฟาด ระดับความสูง 1,550 เมตร
4. เทือกเขาด้านตะวันตก เขตอำเภอเมืองพะเยานับตั้งแต่ด้านเหนือบริเวณเทือกเขา ดอยขุนแม่ต๋ำ ระดับความสูง 1,330 เมตร ลงมาทางใต้ คือ ดอยขุนแม่สุก ระดับความสูง 1,332 เมตร ดอยขุนแม่ต๋อม ขุนแม่ฟาด ระดับความสูง 1,550 เมตร ดอยหลวง ระดับความสูง 1,200 เมตร
ป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีประมาณ 1,849,438 ไร่ หรือร้อยละ 46.71 ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าไม้เบญจพรรณกระจายอยู่ทั่วไป อำเภอที่มีความหนาแน่น ได้แก่ เขตอำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง และอำเภอเมืองพะเยา ไม้ที่สำคัญ คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง และไม้รัง เป็นต้น
ชนิดของป่าและพันธุ์ไม้ที่พบในจังหวัดพะเยา แยกออกเป็นรายอำเภอดังนี้
1. อำเภอเมืองพะเยา สภาพโดยทั่วไปเป็นขุมชนเมือง พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของอำเภอใช้เป็น พื้นที่เกษตรกรรม และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย พื้นที่ป่าไม้ของอำเภอจึงเหลือไม่มาก ไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้เหียง ไม้พลวง ไม้ตะเคียน ไม้แดง ไม้ยาง และไม้ตะแบก

2. อำเภอแม่ใจ ป่าไม้ในเขตอำเภอแม่ใจ ส่วนใหญ่เป็นป่าในหุบเขาสภาพของป่า ได้ถูก ทำลาย โดยการตัดไม้ ทั้งจากการกระทำของชาวไทยพื้นราบ และชาวไทยภูเขา นอกจากนั้น พื้นที่บางแห่ง ยังได้รับอนุญาตเป็นป่าสัมปทาน ไม้ที่พบได้แก่ ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้กระบก ไม้ตะเคียน ไม้ตะเคียนหมู เป็นต้น
3. อำเภอดอกคำใต้ ป่าไม้ในเขตอำเภอดอกคำใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ ที่พบ ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่า และไม้สัก
4. อำเภอจุน ป่าไม้ส่วนใหญ่ เป็นป่าไม้เบญจพรรณหรือป่าผสม ปัจจุบันจำนวนไม้ในป่า มีไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก การตัดไม้ทำลายป่า ไม้ที่พบได้ไม้เปา ไม้หัง ไม้ป๋วย ไม้แงะ ไม้ก่อดูก ไม้สัก ไม้ประดู่ และไม้ชิงชัน
5. อำเภอเชียงคำ ป่าที่พบในเขตอำเภอนี้ ส่วนใหญ่เป็นป่าที่มีระดับความสูง 500-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ได้แก่ บริเวณต้นน้ำลำธาร อันเป็นแหล่ง กำเนิดของแม่น้ำลำธาร หลายสาย ในอำเภอเชียงคำ เช่น น้ำลาว น้ำแวน เป็นต้น
6. อำเภอเชียงม่วน ป่าที่พบส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้รัง (เบา) และไม้เต็ง (แงะ) ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้พลวง นอกจากนั้นมีป่าแพะ ป่าแดง ไม้ที่พบได้แก่ ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้รกฟ้า และไม้สัก
7. อำเภอปง ป่าไม้ในเขตอำเภอปง เกือบทั้งหมดเป็นป่าทึบ โดยเฉพาะป่าน้ำปุกและผาตั้ง ป่าห้วยขานน้ำงิม ตำบลงิม แม่น้ำเม่า ตำบลปง นอกจากนั้น มีป่าแพะ ป่าแดง ไม้ที่พบในเขตนี้ ได้แก่ ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้รกฟ้า และไม้สัก
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดพะเยามีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน อยู่ในระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 42 องศาเซลเซียส
2. ฤดูฝน อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกซุกหนาแน่น ในเดือนพฤษภาคม และเดือนกันยายนปริมาณน้ำฝนบางแห่งอยู่ในเกณฑ์ดี บางแห่งแห้งแล้ง จนไม่สามารถทำนาได้
3. ฤดูหนาว อยู่ในระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวจัด ในเดือนธันวาคมและมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดปี 20.2 องศาเซลเซียส
ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่าน    อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ -นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่ ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงสามารถนั่งรถไฟสายเหนือลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามได้ที่ โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66 หรือwww.transport.co.th บริษัท ขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. 0 5443 1363 สำหรับรถเอกชนติดต่อบริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0 2954 3601, 0 5443 1865 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-9, 0 5424 6503จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆ ครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร. 0 5324 6503
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดพะเยา ต้องใช้เที่ยวบินกรุงเทพฯ -เชียงราย หรือกรุงเทพฯ แพร่ จากนั้นต้องเช่าเหมารถมายังจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่ 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 หรือwww.thaiairways.com