ปัญหาเด็กติดคอมฯ


ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของคนยุค ไอที มาก จนแทบจะกล่าวได้ว่า เป็นปัจจัยที่ หก ได้เลยโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น วัยเรียนทั้งหลายซึ่งข้อดีก็มี ข้อเสียก็มีในทำนองเดียวกัน มีข่าวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากมายในทำนองสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เป็นทำนอง ร้ายมากกว่าดี ดังนั้นหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามหามาตรการ ทุกวิถีทางที่จะป้องกัน ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไม เด็ก ส่วนใหญ่ติดคอมฯ จนเป็นปัญหาให้ผู้ใหญ่ที่คิดคอมฯขึ้นมาเพื่อประโยชน์อะไรก็ตาม...ต้องมาแก้ปัญหาร่วมกัน...
ลักษณะของเด็กติดเกม
1.ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นเกมนานติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน
2.หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกิริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นก้าวร้าว อาละวาด
3.การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
4.บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย เพื่อนำเงินไปเล่นเกม ดื้อต่อต้านแยกตัว เก็บตัว ฯลฯสาเหตุของการติดเกม
สาเหตุที่ทำให้เด็กติดเกม
มิได้มีเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่การติดเกมเป็นเพียงผลลัพธ์ของหลายๆ ปัจจัยที่ผสมผสานและเกี่ยวข้องกันอยู่ สาเหตุหลักๆ ได้แก่
1.การเลี้ยงดูในครอบครัว มักจะพบเด็กติดเกมได้บ่อยในครอบครัวที่เลี้ยงเด็กโดยไม่เคยให้เด็กมีวินัยในตนเอง ขาดกฎระเบียบ กติกาในบ้าน ตามใจเด็ก หรือมักจะใจอ่อนไม่ทำโทษเมื่อเด็กกระทำผิด บางครอบครัวมีลักษณะที่สมาชิกในครอบครัวต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทำ หรือไม่มีกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนทำร่วมกัน ทำให้เด็กเกิดความเหงา ความเบื่อหน่าย เด็กจึงต้องหากิจกรรมอื่นทำเพื่อให้ตนเองสนุก ซึ่งก็หนีไม่พ้นการเล่นเกม พ่อแม่อาจไม่มีเวลาควบคุมเด็ก หรือมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องจำกัดเวลาในการเล่นเกมของเด็ก ในช่วงแรกพ่อแม่อาจรู้สึกพอใจที่เห็นเด็กเล่นเกมเงียบๆ คนเดียวได้โดยไม่มารบกวนตน ทำให้ตนมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น พูดง่ายๆ คือใช้เกมเสมือนเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กแทนตน
2.สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมยุคไฮเทคที่มีเครื่องมือที่มีพลังในการเร้าความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างมหาศาล สังคมวัตถุนิยม สังคมที่ขาดแคลนกิจกรรมหรือสถานที่ที่เด็กจะได้ใช้ประโยชน์หรือเรียนรู้โดยได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปด้วย เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้เด็กหันไปใช้การเล่นเกมเป็นทางออก
3.ปัจจัยในตัวเด็กเอง เด็กบางกลุ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเกมกว่าเด็กทั่วไป เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน เด็กที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ำ (low sell-esteen) เป็นต้น
วิธีป้องกัน
1.คุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้า ก่อนจะซื้อเกม หรืออนุญาตให้เล่นว่า เด็กสามารถเล่นเกมได้ ในวันใดบ้าง วันใดเล่นไม่ได้ เล่นได้กี่ครั้งและไม่เกินกี่ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นต้องรับผิดชอบทำอะไรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนบ้าง หากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลา ไม่ทำการบ้านให้เสร็จ เด็กจะถูกทำโทษอย่างไร (แนะนำให้ใช้วิธีเกม หรือตัดสิทธิ์การเล่นเป็นเวลาระยะหนึ่งหากเด็กไม่ทำตามกติกาที่ตกลง)
2.วางตำแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในสถานที่ที่เป็นที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปมาบ่อยๆ ไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องที่มิดชิด เพื่อให้ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้ เป็นการป้องกันมิให้เด็กเก็บตัว แอบเล่นคนเดียวในห้อง หรือแอบเล่นทั้งคืน
3.วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตำแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
4.ให้คำชมแก่เด็กเมื่อเด็กสามารถรักษาเวลาการเล่น ควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเลยเวลาที่กำหนดได้
5.เอาจริง และเด็ดขาดหากเด็กไม่รักษากติกา เช่น ริบเกมโดยไม่ใจอ่อน ถอดสายโมเด็มออก ฯลฯ
6.ส่งเสริม จัดหากิจกรรมที่สนุกสนานอย่างอื่นๆ (ที่สนุกพอๆ กัน หรือมากกว่าการเล่นเกม) ให้เด็กทำ หรือมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว
7.หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อที่พ่อแม่จะได้มีเวลาส่วนตัวไปทำอย่างอื่น
8.สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม
วิธีแก้ไข
1.หากในบ้านยังไม่มีกฎหรือกติกาการเล่นเกม จำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับเด็กและให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการวางกติกา กำหนดเวลาการเล่น
2.มีเวลาอยู่กับเด็กให้มากขึ้น พาออกนอกบ้านเพื่อไปทำกิจกรรมที่เด็กชอบ (ยกเว้นการไปเล่นเกมนอกบ้าน) อย่าลืมว่าเด็กส่วนหนึ่งติดเกมเพราะความเหงา เบื่อ ไม่มีอะไรสนุกๆ ให้ทำ
3.รักษาสัมพันธภาพระหว่างกันให้ดี หลีกเลี่ยงการบ่น ตำหนิ ใช้อารมณ์ หรือถ้อยคำรุนแรง แสดงความเห็นใจ เข้าใจว่าเด็กไม่สามารถควบคุมตัวเอง หรือตัดขาดจากเกมได้จริงๆ
4.ผู้ปกครองควรร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยใช้กฎเดียวกัน อย่าปัดให้เป็นภาระหรือความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง
5.ฟอร์มเครือข่าย ผู้ปกครองที่มีเด็กติดเกมเหมือนๆ กันหลายๆ ครอบครัว แล้วผลัดกันนำเด็กทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน หรือในวันหยุด เช่น การเข้าค่าย เรียนนอกสถานที่ วอล์กแรลลี่ จัดตั้งเป็นกลุ่มย่อยๆ ชมรมต่างๆ เช่น Sport club, adventure club เป็นต้น
6.ในรายที่ติดเกมจริงๆ และเด็กต่อต้านรุนแรงที่จะเลิก ในระยะแรกพ่อแม่ควรร่วมเล่นเกมกับเด็ก (แต่อย่าเผลอติดเกมเองเสียล่ะ) ทำความรู้จักกับเกมที่เด็กชอบเล่น หากเห็นว่าเป็นเกมที่ไม่เหมาะสม หรือเกมที่ใช้ความรุนแรง พยายามเบี่ยงเบนให้เด็กมาสนใจเกมอื่นที่พอจะมีส่วนดี ดึงเอาส่วนดีของเกมมาสอนเด็ก เช่น เกมสร้างเมือง Strategic games ต่างๆ เกมที่มีบทบาทสมมุติเพื่อฝึก Social skills เป็นต้น เมื่อสัมพันธภาพกับเด็กเริ่มดีขึ้น พ่อแม่จึงค่อยๆ ดึงเด็กให้มาสนใจในกิจกรรมอื่นๆ ทีละเล็กละน้อย
7.หากทำทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบจิตแพทย์เด็ก เนื่องจากเด็กอาจจะป่วย มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่ลึกๆ เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น ฯลฯ เพื่อรับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาต่อไป

เกมออนไลน์ และเกมคอมพิวเตอร์ ดูจะเป็นตัวสร้างปัญหาและความปวดหัวให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองยุคนี้อย่างมาก เพราะเด็กๆ มักจะเล่นจนเลยเถิด ลืมวันลืมคืน แล้วจะทำอย่างไรไม่ให้เด็กติดเกมได้บ้าง ลองมาฟังคำแนะนำจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นกันดีกว่า แพทย์หญิงอัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์ เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวในงานเผยแพร่ความรู้เรื่อง “เด็กติดเกม” ว่า ปัจจุบันมีเกมหลายประเภท ออกแบบให้ผู้เล่นเพลิดเพลิน เกมที่เด็กผู้ชายนิยมเล่นมากคือเกมต่อสู้ ผจญภัย และแข่งกีฬา ส่วนเกมที่เด็กหญิงนิยม คือเกมกีฬา และเกมแฟชั่น ในยุคไอทีเช่นนี้ การปิดกั้นไม่ให้เด็กใช้ อินเตอร์เน็ต หรือเล่นเกมออนไลน์เลย อาจไม่ใช่ทาง ออกที่ดี
พ่อแม่ ผู้ปกครองควรหาวิธีป้องกันไว้ก่อน ดังต่อไปนี้
1. ก่อนซื้อเกมหรือคอมพิวเตอร์เข้าบ้าน ควรคุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกาการเล่นเกมกันล่วงหน้าอย่างชัดเจนเสียก่อน ว่าจะให้เล่นในวันเวลาใด ครั้งละกี่ชั่วโมงหรือต้องทำอะไรให้เรียบร้อยก่อน คุณหมอแนะนำให้เขียนกฎ กติกา มารยาทไว้ในที่เห็นชัด เช่น หน้าคอมพิวเตอร์ และมีสมุดลงบันทึกการใช้งานคอมพิวเตอร์
2. ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้เป็นสมบัติส่วนรวม มีคนเดินผ่านไปมาบ่อย ไม่วางในห้องนอนเด็ก
3. วางนาฬิกาไว้หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในจุดที่เด็กมองเห็นเวลาได้ชัด
4. ควรชมเมื่อเด็กรักษาและควบคุมเวลาในการเล่นเกมได้
5. เอาจริงเอาจังและเด็ดขาดเมื่อเด็กไม่รักษากติกา ไม่ใจอ่อน แม้ว่าเด็กจะโวยวาย
6. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้อบอุ่น น่าอยู่
7. ส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมอื่นที่สนุกสนานและเด็กสนใจแทนการเล่นเกม
8. ฝึกระเบียบวินัย สอนให้เด็กรู้จักแบ่งเวลา
9. พ่อแม่ควรมีความรู้เกี่ยวกับเกม แยกแยะประเภทของเกม เลือกใช้เกมที่มีประโยชน์ ควรพูดคุยและให้ความรู้สอดแทรกให้ลูกเข้าใจและยอมรับได้ว่าการเล่นเกมที่ดีคืออะไร ไม่ส่งเสริมให้เล่นเพราะอะไร







1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22/5/52 13:35

    วันนี้อ่านข่าวเด็กอายุ12 โดดตึกฆ่าตัวตายเน่องจากพ่อไม่ไห้เล่นเกม นึกถึงข้อความในบล๊อกนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อพ่อแม่มาก

    ตอบลบ