การจัดการศึกษาสายอาชีพ (ปวช.)

การจัดการศึกษาสายอาชีพ(ปวช।)สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้รับการอนุมัติให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๔๕ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๖ ) ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โดยจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียนและเป็นผู้มีงานทำในสถานประกอบการหรือสถานประกอบวิสาหกิจหรือหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มีพื้นฐานความรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปิดโอกาสให้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
๑.โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาสามัญ ไม่น้อยกว่า ๒๖ หน่วยกิต
หมวดวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ๖๖ หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต
ฝึกงานไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน
กิจกรรมเสริมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมง
๒. วิธีเรียน คือ การพบกลุ่ม
๓. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๓.๑ การเรียนรู้ด้วยตนเอง
๓.๒ การพบกลุ่ม
๓.๓ การสอนเสริม
๓.๔ กิจกรรมเสริมหลักสูตร
๓.๕ การจัดทำโครงการ
๔. การรับสมัคร
นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาตามวัน เวลา และวิธีการที่สถานศึกษากำหนด ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ วันที่ ๑-๓๐ เมษายน ของทุกปี
ภาคเรียนที่ ๒ วันที่ ๑-๓๑ ตุลาคม ของทุกปี
โดยนักศึกษาสามารถลงทะเบียนในแต่ละภาคเรียนได้ไม่เกิน ๑๘ หน่วยกิต ทั้นนี้ไม่นับรวมรายวิชาที่เทียบโอนผลการเรียน
๕. ระยะเวลาการศึกษา ๖ ภาคเรียน หรือน้อยกว่า หากมีการเทียบโอนผลการเรียน
๖. การจบหลักสูตร
ผู้เรียนจะจบหลักสูตรได้ต้องผ่านเกณฑ์ดังนี้
๑.ลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านรายวิชาต่างๆตามโครงสร้างหลักสูตรของแต่ละสาขาอาชีพ
๒. ได้จำนวนหน่วยกิตสะสมตามโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
๓. ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
๔. ต้องผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมเสริมหลักสูตร ๒๐๐ ชั่วโมง
๕. ต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
๗. วุฒิการศึกษาที่ได้รับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น